บึงกาฬ ทช.เปิดเวทีฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมถนนเลี่ยงเมือง ทล.212-222

 บึงกาฬ ทช.เปิดเวทีฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมถนนเลี่ยงเมือง ทล.212-222




กรมทางหลวงชนบท เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบส่วนต่อขยายถนนเลี่ยงเมืองแนวใหม่ด่านศุลกากรบึงกาฬ - ทล.212-222 ระบายรถออกจากเมืองสร้างเส้นทางโลจิสติกส์และเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวสะดวกรวดเร็วขึ้น

วันที่ 21 ธ.ค. ที่หอประชุมอำเภอเมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ แขวงทางหลวงชนบท เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบส่วนต่อขยายถนนเลี่ยงเมืองแนวใหม่ด่านศุลกากรบึงกาฬ - ทล.212-222 อ.เมือง จ.บึงกาฬ โดยนายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ มอบหมายให้ นายธีระพล ขุนพานเพิง นายอำเภอเมืองบึงกาฬ เป็นประธานเปิดการประชุมฯ มี พร้อมด้วยผู้แทนกรมทางหลวงชนบท หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้แทนปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนกำนันผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนเข้าร่วมงานกว่า 200 คน

ภายในงานมีการรับชมวิดีทัศน์โครงการ ซึ่งนำเสนอรายละเอียดข้อมูลโครงการ ความเป็นมา วัตถุประสงค์  ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ การดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน การรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการ รวมถึงการสรุปประเด็นจากการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการ โดยมีวิทยากรที่ปรึกษาโครงการอาทิ นายปรมินทร์ อรุณรัตน์ วิศวกรโครงการ  นางสาวลัดดาวรรณ ศิลาชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ผศ.ดร.อนุชา เพียรชนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มาร่วมให้ข้อมูลข้อเสนอแนะแก้ไขผลกระทบของโครงการ




นายธีระพล ขุนพานเพิง นอภ. กล่าวว่า วันนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่ได้มีเวทีในการแสดงความคิดเห็น ให้ชาวบึงกาฬได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือปัญหาต่างๆ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการได้นำข้อมูลไปปรับปรุงพัฒนาโครงการต่อไป เพราะท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากโครงการนี้คือชาวบึงกาฬทุกคน และสิ่งนี้คืออนาคตของจังหวัดบึงกาฬที่จะได้รับความเจริญรุ่งเรืองเพิ่มมากขึ้นในวันข้างหน้า ประกอบกับการมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 บึงกาฬ -บอลิคำไซ ที่ใกล้จะเสร็จในต้นปีหน้า รวมถึงถนนทางหลวง 4 ช่องจราจร จ.อุดรธานี - จ.บึงกาฬ และสนามบินบึงกาฬ ในอนาคต ความเจริญและเชื่อมโยงต่อเติมโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่ง เป็นการแก้ไขปัญหาการคมนาคมในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ จะนำมาซึ่งธุรกิจการท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจที่ดีขึ้น  สร้างรายได้ที่มากขึ้นของพ่อแม่พี่น้องชาวบึงกาฬทุกคน

สำหรับการประชุมในวันนี้เป็นการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่  2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโครงการ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการศึกษา ขอบเขตการศึกษาการตรวจสอบข้อจำกัดและเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าและรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาในด้านต่างๆ โดยเฉพาะรูปแบบพัฒนาโครงการ รวมทั้งร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่

ซึ่งจากการศึกษาพบว่าแนวสายทางโครงการอยู่ใกล้กับพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ ระหว่างประเทศในระยะ 2 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมโยงต่อเติมโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่ง เป็นการแก้ไขปัญหาจราจรด้วยการสร้างทางเชื่อมหรือ Missing Link ให้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น และยังสามารถพัฒนาเป็น ทางลัดทางเลี่ยง เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทาง ท่องเที่ยว ขนส่งสินค้า ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเมือง และเศรษฐกิจของจังหวัดบึงกาฬ ได้อีกทางหนึ่ง กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักสำรวจและออกแบบ จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอพซิลอน จำกัด บริษัท อาร์มมี่เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เอ็นไวโรนเมนท์ จำกัด และบริษัท เอเซีย แล็ป แอนด์คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าว

ด้านนายสุนทร วังสะพันธ์ เสนอแนะว่าอยากให้สร้างถนนไปตามขอบหนองกุดทิง ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ส่วนจุดตัดถนนต่างๆ ขอให้เป็นสี่แยกไฟแดงหรือ วงเวียน และจุดยูเทิร์นตามถนนหลวง 222 ขออย่าให้ห่างมากนักเหมือนทุกวันนี้  จะทำให้คนขี่รถจักรยานยนต์ขับย้อนศรจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 

ส่วนนายเชิดชัย เจริญดี รองปลัดเทศบาลเมืองบึงกาฬ ก่อนอื่นต้องขอบคุณที่ได้นำความเจริญมาสู่จังหวัดบึงกาฬ เราพยายามจะทำถนนเส้นนี้มานานเหลือเกิน เป็นการดีมากที่ กรมทางหลวงชนบทได้ออกแบบและรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เส้นนี้จะเชื่อมริมโขงจากด่านศุลกากรบึงกาฬ ตอนนี้ได้คุยกับบริษัทที่ปรึกษาถ้าทำถนนเชื่อมได้หรือเวนคืนได้ก็จะเป็นการดี ถ้าทำได้ถึงสุดริมโขงได้ก็จะดี เรื่องระดับเนื่องจากว่าโซนจากน้ำโขงถึงถนน212 ถ้าระดับบวก14 ระดับน้ำบ้านพันลำเมื่อกี้น้ำท่วมตรงถนนเส้นนี้ที่จะตัดถึงด่านศุลกากรบึงกาฬ ทำให้สูงกว่าระดับบวก14 เมตร จากตลิ่งป้องกันน้ำท่วมในอนาคตได้ อีกเรื่องคือระบบระบายน้ำ เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำควรมีท่อระบายน้ำสู่หนองหรือคลองส่งน้ำ จะส่งผลกระทบน้ำท่วมขังได้ 








ส่วนตัวแทนจากหมู่ 11 บ้านแสนสุข เท่าที่ดูเห็นว่าโครงการสร้างเสร็จประมาณสัก 10 ปี ช่วงเวลาตรงนี้พอสมควรเลย หากเสร็จแล้วเศรษฐกิจและสังคม อีก 10 ปีข้างหน้าน่าจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อยากให้สร้างสะพานข้ามแยกยกระดับเลยเป็นการออกแบบไว้อนาคต แล้วก็ในส่วนของสร้างถนนมีเส้นทางที่น้ำผ่านช่วงที่เป็นหนองน้ำท่วมมากทำคันกั้นน้ำหรือท่อระบายน้ำ 10 ปีข้างหน้าเดี๋ยวพอเปิดใช้น้ำจะได้ไม่ท่วม

ณฐพรหม อิทธิพัทธ์พล//บึงกาฬ 0961464326

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เมืองมุกดาหาร ผู้ว่าฯ การันตี ทุเรียน ออแกนิค สวนประสานรัก อ.ดงหลวง อร่อย ไม่เป็นรองใคร

ป.ป.ช.อยุธยา มอบรางวัลการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา กว่า 200 รางวัล

ก.ธ.จ.อยุธยา พบว่า อบต.ไผ่พระ อำเภอบางไทร ใช้งบประมาณไม่คุ้มค่าและมีการแบ่งจัดซื้อจัดจ้าง