ป.ป.ช.อยุธยา ดึงเครือข่าย 9 อำเภอ เดินหน้าปักหมุดพื้นที่เสี่ยงทุจริต พร้อมขยายให้ครอบคลุมทั้ง 16 อำเภอ

 ป.ป.ช.อยุธยา ดึงเครือข่าย 9 อำเภอ เดินหน้าปักหมุดพื้นที่เสี่ยงทุจริต  พร้อมขยายให้ครอบคลุมทั้ง 16 อำเภอ



 วันนี้ (30 ก.ค.67) ที่โรงแรมคลาสสิค คามิโอ อยุธยา นายปริญญา วิกุลศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นประธานเปิดโครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (โครงการต่อเนื่องขยายผล) กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 1  โดยมุ่งเน้น “ป้องนำปราบ” คือ การป้องกันการทุจริต ป้องกันความเสียหาย สร้างจิตสำนึกค่านิยมซื่อสัตย์สุจริต และไม่ทนต่อการทุจริต





 นายปริญญา วิกุลศิริรัตน์ กล่าวว่า  การจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  หัวข้อ “บทบาทของเครือข่ายภาคประชาชน กับการป้องกันการบุกรุกที่สาธารณะ”  ล่าสุดมีเครือข่าย 100 คน จาก 9 อำเภอ  ประกอบด้วย  อำเภอพระนครศรีอยุธยา  นครหลวง  มหาราช  บ้านแพรก  อุทัย  ภาชี  วังน้อย บางไทร ลาดบัวหลวง   โค้ช และสมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต  โดยจะร่วมกันกำหนดหมุด  แผนที่ความเสี่ยงต่อการทุจริต พร้อมลงพื้นที่ตามหมุดฯ  เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลทั้ง 76 จังหวัด  โดยมีการจัดเรียงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ  จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำไปเป็นข้อปฏิบัติในการปราบปรามการทุจริต  พร้อมระบุ ก่อนหน้านี้องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ  ได้ประกาศผลดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ประจำปี 2566  พบว่าประเทศไทยได้ 35 คะแนน จาก 100 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 108 ของโลก จาก 180 ประเทศ แสดงให้เห็นถึงการทุจริตเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมมือป้องกัน ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง  อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้เครือข่ายทั้ง 100 คนจะเป็นพลังป้องกันการทุจริต ไม่สนับสนุนการทุจริตทุกรูปแบบ  และขยายผลไปสู่การสร้างฐานข้อมูลใช้ต่อต้านการทุจริตในระดับจังหวัด





ด้านนางสาวภัคศรัณย์  โอสถสงเคราะห์  หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต กล่าวว่า  โครงการดังกล่าว


เป็นโครงการต่อเนื่อง   เริ่มมาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นโครงการเก็บรวบรวมข้อมูลและแสวงหาแนวทางการต่อต้านการทุจริตจากข้อมูลจริงในพื้นที่ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์  ใช้หลักการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) และการคาดการณ์อนาคต (Scenario Analysis)  โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลคือ เครือข่ายชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตในทุกจังหวัด   ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับสำนักงาน ป.ป.ช. กับเจ้าหน้าที่และผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ความเสี่ยง คาดการณ์อนาคตร่วมกัน ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกัน คือการแก้ไขปัญหาให้มีความเสี่ยงลดลง  หรือหากแก้ไขไม่สำเร็จ ก็นำไปสู่การดำเนินคดี








กัญญ์พรภัสร์ เอี่ยมมีชัย/ผู้สื่อข่าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา/รายงาน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เมืองมุกดาหาร ผู้ว่าฯ การันตี ทุเรียน ออแกนิค สวนประสานรัก อ.ดงหลวง อร่อย ไม่เป็นรองใคร

ป.ป.ช.อยุธยา มอบรางวัลการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา กว่า 200 รางวัล

จิตอาสา 500 คนลงเก็บขยะตามเกาะแหล่งท่องเที่ยวงานรักษ์เลป่าเปิดฟ้าอันดามัน