คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาช้างป่า สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี รับฟังปัญหาช้างป่า

 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาช้างป่า สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี รับฟังปัญหาช้างป่า




          วันนี้ (27 มีนาคม 2564) เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมแควใหญ่ ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี นายจารึก ศรีอ่อน รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาช้างป่า สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการลงพื้นที่ศึกษาดูงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาช้างป่า สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายบัญญัติ เจตนจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการ นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ พลเอก สมชาย วิษณุวงศ์ นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ และคณะ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัดกาญจนบุรี ให้การต้อนรับและนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาช้างป่าของจังหวัดกาญจนบุรี





        

  ในที่ประชุมได้มีตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบตำบลช่องสะเดาและตำบลวังด้ง เข้าร่วมประชุม นำทีมโดย นายวสันต์ สุนจิรัตน์ กำนันตำบลช่องสะเดา  นางสาวพรประภา เสนาบุตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลช่องสะเดา  นางสาวคณัสนันท์ น้อยทิพย์ สารวัตรกำนันตำบลช่องสะเดา นางสาวกฤษณา ขวัญเมือง สารวัตรกำนันตำบลช่องสะเดา พร้อมชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ ได้ยื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการ เรื่อง การแก้ไขปัญหาช้างป่าออกมาทำลายพืชผล พืชไร่ทางการเกษตรและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ผู้แทนอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าได้ร่วมกันนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่า ซึ่งมีหัวข้อหลัก5ข้อ ดังนี้






1.ต้องแก้ไขกฏหมายที่เกี่ยวกับป่าเกี่ยวกับช้างป่า 

2.ต้องเยียวยาผู้ที่มีผลกระทบจากช้างป่า 3.ต้องทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่า 4.ต้องเคลื่อนย้ายช้างป่าที่ออกจากป่าที่ลงมาในชุมชน 

5.อื่นๆ 

ตามหัวข้อดังนี้

1.ต้องแก้ข้อกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของพี่น้องประชาชน

2.ต้องเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับปัญหาช้างป่า

   2.1ช้างป่าลงมาทำทรัพย์สิน หรือทำลายพืชผล พืชไร่ทางการเกษตร ต้องให้มีการชดเชยค่าเสียหายในราคาที่เป็นจริงในทุกพื้นที่โดยไม่มีข้อยกเว้น

   2.2 กรณีช้างป่าฆ่าคนตายหรือบาดเจ็บจากการกระทำของช้างป่า ต้องให้มีการเยียวยาและชดเชยให้กับญาติให้เท่ากับผู้ที่เสียชีวิตจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทุกพื้นที่โดยไม่มีข้อยกเว้น

3.ต้องทำโครงการ

   3.1 ต้องทำสิ่งกีดขวางระหว่างคนกับช้างป่าเช่น ทำรั้ว ขุดคู ทำแบริเออร์ เพราะคนกับช้างป่าอยู่ร่วมกันไม่ได้

   3.2 ต้องสร้างแหล่งน้ำในพื้นที่ป่าให้มีจำนวนแหล่งน้ำและปริมาณน้ำให้เพิ่มมากขึ้น เช่น การเจาะบ่อบาดาลทุก 5กิโลเมตร โดยการทำเป็นกระทะน้ำ และใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูบน้ำ

   3.3 ต้องสร้างแหล่งอาหาร การสร้างแหล่งอาหารในป่าไม่เพียงพอต่อช้างป่าเพราะไม่ทันเจริญเติบโตไม่ทันต่อความต้องการของช้างป่าและช้างป่าก็กินทำลายจึงทำให้พืชอาหารช้างหมดลง การสร้างแหล่งอาหารต้องให้พี่น้องประชาชนหรือเกษตรกรที่อยู่บริเวณใกล้กับแนวป้องกันช้างป่าหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ปลูกพืชอาหารให้กับช้างป่า

เพื่อให้ทางภาครัฐหรือนักท่องเที่ยวซื้ออาหารไปให้กับช้างป่าที่อยู่นอกแนวรั้วป้องกันช้างป่า การทำแบบนี้ทำให้พี่น้องประชาชนอยู่ได้และช้างป่าก็อยู่ได้

    3.4ต้องขอเก็บค่าสนับสนุนกับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นรายบุคคล บุคคลละ 10.บาทเท่านั้น โดยให้ หน่วยงานของ การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาญจนบุรีเป็นผู้รับผิดชอบรายได้ทั้งหมดเพื่อนำมาซื้ออาหารช้างป่าจากพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าปลูกขึ้นมา โดยไม่มีการหักภาษีและหักเปอร์เซ็นต์หรือการหักหัวคิวใดๆแม้แต่บาทเดียว เพราะทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันกับเรื่องปัญหาช้างป่า

4.ต้องเคลื่อนย้ายช้างป่าออกนอกพื้นที่หมู่บ้านและชุมชน

   4.1 เมื่อช้างป่าลงมากินหรือทำลายพืชผล พืชไร่ทางการเกษตรและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนนอกพื้นที่อนุรักษ์ ต้องให้ไล่ต้อนหรือเคลื่อนย้ายออกไปโดยเร็ว เพื่อลดความเสียหายและการสูญเสียชีวิตของพี่น้องประชาชน และเพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน

   4.2 เมื่อจำนวนช้างป่ามีเกินกำหนดจำนวนพื้นที่ป่าให้ภาคเอกชนสามารถเคลื่อนย้ายมาดูแลได้โดยภาครัฐเป็นผู้ควบคุม

5.เรื่องอื่นๆ

   1.ต้องให้มีการอบรมให้ความรู้กับชาวบ้านหรือพี่น้องประชาชน และอาสาสมัครในพื้นที่ ที่มีช้างป่าลงมาในพื้นที่นั้นๆ

   2.ต้องจัดสรรงบประมาณลงมาจ้างงานในชุมชน เพื่อดูแลและเฝ้าระวังป้องกันช้างป่าที่เข้ามาในพื้นที่นั้นๆ

   3.ในทุกพื้นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ ต้องมีศูนย์เรียนรู้หรือแปลงสาธิตด้านการเกษตร เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ พร้อมหาตลาดให้กับเกษตรกรที่อยู่ติดบริเวณขอบป่าอนุรักษ์ที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าลงมารบกวนในพื้นที่นั้นๆ











 เพื่อให้ช่วยหาทางแก้ไขให้กับประชาชน ไปยังรัฐบาลในการหาแนวทางและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาต่อไป ซึ่งปัญหาช้างป่าเป็นปัญหาที่สำคัญ ดังนั้น จะต้องมีการดำเนินการป้องกันยับยั่งและช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วันที่ 16 กันยายน 2566 ท่านประธานบริษัท​ อืนโนเวทีฟ เทคโนโลจิคอล โซลูชั่น จำกัด​ คุณพัฒน์นรี​ ไพศาลศรวัส​ และผู้บริหาร ดร.ศรวัสย์​ ไพศาลศรวัส​ ได้จัดกานฝึกอบรม"หลักสูตรระบบพลังงานร่วมแบบบูรณาการ" สำหรับที่ต้องการเป็นผู้แทนจำหน่าย เครื่องประหยัดไฟฟ้า ICS และ รถยนต์ไฟฟ้า BOMA ICS

จิตอาสา 500 คนลงเก็บขยะตามเกาะแหล่งท่องเที่ยวงานรักษ์เลป่าเปิดฟ้าอันดามัน

อบจ.สตูล ร่วม ททท.สตูล เนรมิตจุดชมวิวชายหาดปากบารา เป็นการแสดง แสง สี เสียง ในกิจกรรม เปิดฟ้าอันดามันสตูล ก่อนส่งจิตอาสานักท่องเที่ยวลงเก็บขยะตามเกาะ เบิกกฤษ์สู่ฤดูกาลท่องเที่ยวทางทะเล แล้ว